อันตราย ติดต่อทางเลือด-เพศสัมพันธ์ “ไวรัสตับอักเสบซี” หลายคนยังไม่ทราบว่า โรคที่ติดต่อทางเพสสัมพันธ์ คืออะไร ไวรัสตับอักเสบซี เป็นหนึ่งในเพชรฆาตคร่าชีวิตอันดับต้นๆ ของโลก โดยปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่มากกว่า 150 ล้านคน มีอัตราการติดเชื้อในประเทศไทยโดยเฉลี่ยประมาณ 1% ของประชากร แต่ในบางจังหวัดของประเทศอาจมีอัตราการติดเชื้อสูงกว่านี้มาก
อันตราย ติดต่อทางเลือด-เพศสัมพันธ์ “ไวรัสตับอักเสบซี”
วันนี้เราจะพาทุกคนมาดูกันค่ะ ว่าไวรัสตับอักเสบซี คืออะไร สาเหตุของโรคนี้เกิดจากอะไร
โรคไวรัสตับอักเสบซี เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดซี สามารถติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเข้าไปในร่างกายจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน ส่วนมากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีการติดเชื้อ จะทราบได้ก็ต่อเมื่อไปตรวจเลือดแล้วพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ หรือบริจาคเลือดแล้วพบว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี
อาการที่แสดงให้เห็นได้ อาจมีดังต่อไปนี้
- มีไข้
- อ่อนเพลียจากการอักเสบของตับ
- คลื่นไส้
- ตัวเหลือง ตาเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้ม
- เบื่ออาหาร
- น้ำหนักลด
โดยทั่วไปประมาณ 70-80% ของผู้ติดเชื้อเฉียบพลันจะเข้าสู่ระยะติดเชื้อเรื้อรังเนื่องจากไม่สามารถขจัดเชื้อไวรัสออกจากร่างกายได้ ซึ่งถ้าหากเป็นนานๆ หลายปีอาจมีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ทำให้เกิดพังผืดหรือแผลเป็นในตับ นำไปสู่ภาวะตับแข็งและมีโอกาสเกิดมะเร็งตับในที่สุด ที่สำคัญการที่จะทราบได้ว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีนั้น จะต้องใช้วิธีตรวจทางห้องปฏิบัติเท่านั้นถึงจะทราบ

การวินิจฉัย และรักษาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
การตรวจคัดกรองเบื้องต้นที่บ่งชี้ว่ายังมีการติดเชื้อในร่างกาย คือการตรวจแอนตี้-เอชซีวี (Anti-HCV) ถ้ามีผลบวกแสดงว่าเคยติดเชื้อไวรัสมาก่อน แต่ไม่สามารถแยกได้ว่ายังมีการติดเชื้อไวรัสในร่างกายหรือหายขาดแล้ว นอกจากนี้ anti-HCV ยังให้ผลบวกลวงได้ด้วย
ดังนั้น เมื่อตรวจแอนตี้-เอชซีวี (Anti-HCV) ให้ผลบวกจึงต้องตรวจยืนยันว่ากำลังมีการติดเชื้อจริงโดยการตรวจปริมาณไวรัสในเลือด (HCV RNA) ด้วยวิธีพีซีอาร์ (PCR) ถ้าตรวจไม่พบปริมาณไวรัสหลังแอนตี้-เอชซีวีให้ผลบวก แนะนำให้ตรวจซ้ำอีกครั้งใน 3-6 เดือน การตรวจหาปริมาณไวรัสอาจต้องรอผลจากห้องปฏิบัติการ 3-14 วัน จากนั้นแพทย์จึงจะวางแผนการรักษา และการตรวจปริมาณไวรัสนี้ยังใช้ติดตามการรักษาเพื่อประเมินผลว่ารักษาหายขาดหรือไม่
กลุ่มเสี่ยง ไวรัสตับอักเสบซี
โรคไวรัสตับอักเสบซีติดต่อเข้าสู่ร่างกายทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์เป็นหลักผ่านหลายสาเหตุ ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงได้แก่
- ผู้ที่มีประวัติการรับเลือดก่อนปี 2534
- มีประวัติการฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
- มีประวัติการสัก เจาะด้วยเครื่องมือที่ไม่สะอาด
- มีประวัติการฉีดยากับหมอเถื่อน
- ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ที่รักษาด้วยการล้างไต
- มีเพศสัมพันธ์หลายคู่นอน
- สามารถติดเชื้อร่วมกับการติดเชื้อ HIV ได้ โดยมีอัตราการติดเชื้อในผู้ป่วยกลุ่มนี้สูงถึง 8-10%
วิธีป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบซี
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ เช่น หลีกเลี่ยงการใช้ของมีคมหรือเข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด คู่สมรสที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถอยู่ร่วมกันได้ตามปกติ มารดาที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีสามารถให้นมบุตรได้ ไม่ใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
- ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
- ใช้ถุงยางอนามัยหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
- รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารปรุงสุก ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
- ตรวจร่างกายสม่ำเสมอเพื่อประเมินการทำงานของตับอย่างน้อยปีละครั้ง
เราจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เราหลายคนนั้นมองข้ามไป อาจเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเราได้ เมื่อเราเห็นแล้วว่า สิ่งเหล่านี้เป็นภัยต่อตัวเรามาก และเสี่ยงทำให้เราเกิดโรคต่างๆได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว เราควรที่จะป้องกันตัวเองให้ดี เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงของเรานั่นเองค่ะ
การเอาชีวิตรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์ “ไฟไหม้-สำลักควัน” ต้องทำอย่างไร ? หลายๆคนยังไม่ทราบว่า หากเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ ภายในบ้านหรือคอนโด เราก็ควรที่จะมีสติ อยู่ตลอดเวลาว่าควรที่จะ เดินทางออกจากที่เกิดเหตุอย่างไร ที่จะทำให้เราลอดภัยมากที่สุด หากเราเป็นผู้ที่พบเห็นไฟไหม้เป็นคนแรก ก็ต้องคิดแล้วว่าเราสามารถดับเองได้หรือไม่ หากดับเองไม่ได้ ก็ควรที่จะออกห่างจากพื้นที่เสี่ยงให้เร็วที่สุด
อาหาร ที่มีส่วนทำให้ ภูมิคุ้มกันลดลง ! นอกจากจะมีอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายของเราแล้วนั้น ก็ยังมีอาหารบางชนิด ที่มีส่วนในการทำลายภูมิคุ้มกันของเราด้วย เมื่อเราทานอาหารประเภทนั้นในปริมาณที่มากๆ ก็อาจจะเข้าไปลดประสิทธิภาพ ในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคได้ด้วย